Seminars & Projects

Let’s have fun with research together !~

「การทำวิจัย คือการหาคำตอบจากคำถามที่เราอยากรู้และสงสัย」

จากแนวความคิดนี้ ผมจึงเชื่อว่า หากเราได้ทำงานวิจัยในเรื่องที่เราสงสัยและอยากรู้จริงๆ ก็จะทำให้เราสามารถทำงานวิจัยได้อย่างมีความสุข

กระบวนวิชาสัมมนาทางคณิตศาสตร์ (206390) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาฝึกการอ่านบทความวิจัยทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะการเขียนรายงานและนำเสนอผลงาน ส่วนกระบวนวิชาค้นคว้าอิสระ (206499) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ตนเองสนใจ ซึ่งเปรียบเสมือนการปูพื้นฐานการทำวิจัยเบื้องต้น กระบวนวิชาทั้งสองวิชานี้จะเป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาทักษะของนักศึกษาก่อนออกไปโบยบินในโลกกว้างทั้งคนที่จะโบยบินต่อในสายงานด้านวิชาการและไม่วิชาการ

การรับนักศึกษาสำหรับทำสัมมนา 390 และ Senior Project 499

  1. เนื่องจากอาจารย์จะสามารถรับนักศึกษาได้ตามจำนวนที่ภาควิชากำหนด (ปีรหัสละไม่เกิน 2 คน) ดังนั้นเมื่อจำนวนที่รับได้เต็มแล้ว ผมจะไม่สามารถรับนักศึกษาเพิ่มได้อีก
  2. นักศึกษาที่สนใจจะทำ 390 และ 499 ขอให้ศึกษาว่าจะสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้ก็มาสนุกกัน !
    1. ไม่ต้องเก่งก็ได้ แต่ขอให้มีความรับผิดชอบ
    2. มีเวลาสัปดาห์ละประมาณ 2 คาบเรียน สำหรับนัดคุยงานและสัมมนากลุ่มย่อย
      • สำหรับนักศึกษาแต่ละคน เราจะมี individual discussion 1 ครั้งต่อสัปดาห์ (ตามเวลาที่นักศึกษา / อาจารย์สะดวก โดย fix วันตลอดภาคเรียน)
      • ในหนึ่งสัปดาห์ เราจะมี Group seminar 1 ครั้ง (หรืออาจจะ 2 สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้งตามความเหมาะสม) โดยจะรวมทุกคนที่ทำ 390 และ 499 กับผม (และผม) ตามเวลาที่ทุกคนสะดวก ในการสัมมนากลุ่ม เราจะสลับกันเล่างานที่ตัวเองกำลังทำอยู่ (เช่น ตอนนี้กำลังอ่านเปเปอร์อะไรอยู่ / ตอนนี้กำลังสนใจปัญหาอะไร) โดยอาจจะเป็นรูปแบบการทำ slide / เขียนบนกระดาน ตามใจชอบ บรรยากาศจะเป็นแบบสบายๆ จิบกาแฟกินขนมคุยงานกัน
    3. นักศึกษาจะต้องเขียน bimonthly Report (รายงานสรุปการทำงานรายสองเดือน) เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา และช่วยลดภาระของนักศึกษาและอาจารย์ในการต้องรีบปั่นงานในวาระสุดท้ายก่อน deadline ของกระบวนวิชา
  3. ผมสนับสนุนให้นักศึกษาได้ไปเปิดโลกกว้างทางวิชาการในงานประชุมวิชาการ หรือส่งบทความในวารสารวิชาการ ถ้านักศึกษาที่ทำวิจัยด้วยสนใจจะไปงานประชุมวิชาการ ก็สามารถมาคุยกันได้เลย
  4. ในวิชา 499 ผมสนับสนุน (Strongly recommend) ให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนเล่ม แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษา
  5. หัวข้องานวิจัยที่รับปรึกษาใน 390 และ 499
    1. 390 : อะไรก็ได้ตามที่นักศึกษาสนใจ
    2. 499 : เช่นเดียวกันกับ 390 (อะไรก็ได้ตามที่นักศึกษาสนใจ) แต่ผมจะถนัดและสนุกมากกว่าในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ Discrete & Computational Geometry, Mathematical Modeling with Geometry Approach, Computational Mathematics ซึ่งผมจะให้นักศึกษาลองไปหาเรื่องที่ตัวเองสนใจมาก่อนแล้วมาคุยกัน
    3. หรือถ้านักศึกษายังนึกๆไม่ค่อยออกว่าอยากทำอะไรดี ปัญหาใน 「ข่วงปัญหา」ข้างล่างนี้ เป็นปัญหาที่อาจารย์อยากหาคนมาช่วยแก้ นักศึกษาก็ลองชิมๆ แล้วถ้าสนใจอยากเล่นด้วยมาคุยกันก็ได้ (โดยปรับได้ตามความสนใจของนักศึกษา)

โปรเจค / สัมมนาของนักศึกษาที่ผ่านมา

206390 Seminars in Mathematics

ภาคการศึกษา 2/2561

 

  • 590510455 นายณัฐพล รินแต้ว
    • Rectangles in Rectangle
  • 590510460 นายธนภูมิ กีฬาแปง
    • Squares in Triangle

206499 Independent Study

ภาคการศึกษา 2/2562

  • 590510455 นายณัฐพล รินแต้ว
    • รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสในรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
      Squares in Trapezoids
  • 590510460 นายธนภูมิ กีฬาแปง
    • การประกอบเชิงคอนเวกซ์ของรูปหลายเหลี่ยมในเกมปริศนาลัคกี้
      Convex Composition of Polygons of Lucky Puzzle

ภาคการศึกษา 2/2561

  • 580510477 – น.ส.กชกร กันทเนตร
    • การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวที่สั้นที่สุดโดยใช้แผนภาพโวโรนอยบนโครงข่าย
      Design of shortest travel route using network Voronoi diagram
  • 580510478 น.ส.กนกพร ชื่นชม
    • การแจงนับสภาพแข็งเกร็งของตารางขนาด m x n

      Enumeration on the rigidity of m x n rectangular grids

ภาคการศึกษา 2/2560

  • 570510570 น.ส.พิชญา  วงศ์อรินทร์
    • สัจพจน์เชิงโอริงามิสำหรับการแก้ปัญหาเรขาคณิตแบบยูคลิด
      Origami Axioms for Solving Euclidean Geometry Problems
  • 570510602 น.ส.สุขฤทัย คำแก่น
    • เทสเซลเลชันใน 2 มิติ และเงื่อนไขการสร้างเทสเซลเลชันใน 2 มิิติ
      2D Tessellations and Their Constuction Conditions

โครงงานคณิตศาสตร์ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • โครงการ วมว.มช. (ปีการศึกษา 2561 – 2562)
    • Chanakan Sapphalikhit, Sasikarn Tawanseri
      • การวิเคราะห์ทางเรขาคณิตของกระบวนการพบั โอริงามิแบบดอกไม้ไฟ
        Geometrical analysis of firework origami folding processes
  • โครงการ พสวท. (ปีการศึกษา 2562)

 

ข่วงปัญหา

Updated: 5 September 2018

เป็นพื้นที่ที่ผมจะรวบรวมปัญหาที่ตัวเองกำลังสนใจ (แต่อาจจะยังไม่มีเวลาแก้ / ศึกษา และต้องการหาคนมาช่วยกันศึกษาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นปัญหาที่นักศึกษา ป.ตรี น่าจะพอทำได้) อาจจะมีเพิ่ม (ตามความสงสัย) หรือลด (ถ้ามีคนทำไปแล้ว) ได้ตามความเหมาะสม

สีเขียว​: กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา, เส้นทับ : โปรเจ็คเสร็จแล้ว, สีน้ำเงิน: ชื่อผู้ทำโปรเจค

Computational Geometry Problems

  • ปัญหา UFO Catcher [DONE and In Progress]
    • มีคานอยู่สองอันและมีกล่อง (ดูในวีดีโอ) ต้องการจะทำให้กล่องตกลงมาเพื่อให้ได้ตุ๊กตา
    • VDO:
    • จากการที่ผมคุยกับอาจารย์วัชรินทร์ที่จุฬาฯ อาจารย์แนะนำว่าน่าจะเทียบเคียงกับปัญหา Prince Rupert’s Cube ได้ จึงน่าสนใจว่า เราจะสามารถเทียบเคียงปัญหาสองปัญหานี้ได้อย่างไร?
    • Updated 5 Sep 2018: พิจารณาปัญหาดังกล่าวในมุมมองของ Polygon Containment Problem, ปัญหา Fits and Covers แล้ว (ส่งใน JCDCGGG)
    • Updated 5 Sep 2018: สำหรับปัญหา 390 ศึกษาเงื่อนไขที่เพียงพอและจำเป็นสำหรับ Rectangles in Rectangles (ID5905: ณัฐพล), Squares in Triangles (ID5905: ธนภูมิ)
    • Updated 9 Apr 2020: สำหรับปัญหา 499 ณัฐพลศึกษาปัญหาเงื่อนไขที่เพียงพอและจำเป็นสำหรับ Squares in Trapezoids (ID5905: ณัฐพล) [เหลืออีก 2 Case]
  • CGAL tool for Computational Geometry
    • CGAL (The Computational Geometry Algorithms Library) เป็นชุดโปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณทาง Computational Geometry โดยเป็น library ใน C++
    • แต่เนื่องจากผมไม่มีความรู้ในการใช้ C/C++ ดังนั้นจึงอยากหาคนมาศึกษาไปพร้อมๆ กัน (หรือถ้ารู้มากกว่าจะมาสอนผมก็ได้นะ 😛 )
    • ถ้าจะต้องทำเป็น Senior project อาจจะเป็นงานลักษณะที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ Computational Geometry (ซึ่งยังถือว่ายังใหม่) ฝึกใช้เครื่องมือ CGAL และลองใช้เครื่องมือ CGAL แก้ปัญหาที่น่าสนใจ

Discrete Geometry Problems

  • Tessellation บนแสตนด์เชียร์
    • จากกิจกรรม Sport Days รูปแบบการแปรอักษร / การแสดงปกติอาจจะน่าเบื่อ ดังนั้นเรามาพัฒนาการเชียร์ให้อลังการขึ้นโดยใช้คณิตศาสตร์กันดีไหม?
    • ศึกษาปัญหา และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ Tilings / Tessellation [DONE] เป็นปัญหา 499 (ID5705 สุขฤทัย)
    • นำความรู้จากการศึกษา Tilings / Tessellation ไปออกแบบและใช้งานจริง น่าจะเหมาะสำหรับเด็กกิจกรรม
  • Origmi Geometry ศึกษาการพับกระดาษผ่านสมบัติทางเรขาคณิตต่างๆ
    • Origami Axioms สำหรับแก้ปัญหาทางเรขาคณิตแบบยูคลิด [DONE] เป็นปัญหา 499 (ID5705 พิชญา)
    • วิเคราะห์ย้อนกลับลวดลายการพับ Origami [DONE] โครงงานของนักเรียน วมว. (วมว60 ศศิกานต์, ชนนิกานต์)

Geometric Modeling Problem

  • ปัญหาการจำแนกประเภทของนก (Pending, in discussion with Aj. Swasadi @ Dept. Biol)
%d bloggers like this: